สถานที่น่าสนใจ อำเภอเมืองกำแพงเพชร
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ทางเข้าตั้งอยู่ นอกเมืองกำแพงเพชรไปประมาณ ๕ กิโลเมตร ตาม ถนนสายกำแพงเพชร-พรานกระต่าย เลี้ยวซ้ายตรง กิโลเมตรที่ ๓๖๐ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แบ่งออกเป็นโบราณสถานฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวัน ตกของแม่น้ำปิง ซึ่งใช้วัสดุก่อสร้างที่แตกต่างกัน ด้าน ตะวันออกของแม่น้ำปิงเป็นที่ตั้งเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานสร้างด้วยศิลาแลงและมีขนาดใหญ่ ส่วน โบราณสถานฝั่งตะวันตกคือเมืองนครชุม ก่อสร้าง ด้วยอิฐและมีขนาดเล็ก แต่รูปแบบศิลปะที่ปรากฏ มีลักษณะร่วมสมัยระหว่างสุโขทัย และอยุธยา นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเมืองกำแพงเพชร หรือเขตอรัญญิก ซึ่งเป็นที่อยู่ของสงฆ์เพื่อมุ่งการ ปฏิบัติวิปัสสนา อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ ทาง ๒ กิโลเมตร อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการประกาศ ให้เป็น “มรดกโลก” ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จาก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๔ ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. ค่าเข้าชมชาวไทย ๒๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท รถยนต์ ๕๐ บาท รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร. ๐ ๕๕๘๕ ๔๗๓๖-๗
กำแพงเมืองกำแพงเพชร
เป็นกำแพงชั้นเดียวสร้าง เป็นเชิงเทินมี ๒ ตอน ตอนล่างเป็นมูลดินสูงขึ้นไป ๓-๔ เมตร ตอนบนก่อด้วยศิลาแลงเป็นเชิงเทินมีใบ เสมาและเจาะตรงใบเสมาไว้สำหรับมองข้าศึก วัดซุ้มกอ เป็นวัดขนาดเล็กอยู่ทางทิศใต้ของเมือง นครชุม เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม มี องค์ระฆังแบบลังกา วัดนี้เคยขุดพบพระเครื่อง “ซุ้มกอ” เป็นจํานวนมาก ด้านหน้าของเจดีย์ประธานมีวิหาร เล็ก ๆ ๑ หลัง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
ถนนปิ่น ดำริห์ เป็นที่แสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุสมัย ต่างๆ อาทิเช่น ศิลปทวารวดี ศิลปลพบุรี และศิลป รัตนโกสินทร์ โบราณวัตถุส่วนมากเป็นลวดลายปูนปั้น และลวดลายดินเผา เศียรพระพุทธรูป เครื่องสังคโลก ปูนปั้นรูปยักษ์เทวดา และมนุษย์ซึ่งใช้ประดับฐาน เจดีย์ หรือติดตั้งวิหาร นอกจากนั้นยังมีเทวรูปพระ อิศวรสัมฤทธิ์ ที่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ถูกลอบตัด เศียรและพระหัตถ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และได้ซ่อมแซม | 1 ให้กลับคืนสู่สภาพดี พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดทุกวันเวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ยกเว้นวันจันทร์ วันอังคาร และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมชาวไทย ๒๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๕๕๗๑ ๑๕๗๐ www.thailandmuseum.com
ศาลพระอิศวร
ตั้งอยู่ด้านหลังศาลจังหวัด มีฐาน ก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ๑.๕๐ เมตร บนฐานชุกชีมีเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ที่ จำลองขึ้น เทวรูปพระอิศวรองค์เดิมปัจจุบันตั้งอยู่ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร เทวรูปองค์ เดิมนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นักท่องเที่ยวชาวเยอรมัน ได้ลักลอบตัดพระเศียรและพระหัตถ์ ส่งลงเรือ มายังกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขอพระเศียรและ พระหัตถ์คืน และทรงประทานพระอิศวรจำลองให้ บ แทน ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน
หอไตรวัดคูยาง
ถนนวิจิตร เขตเทศบาลเมือง เป็น สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หอไตรนี้สร้างไว้กลางน้ำและมีใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันปลวก แมลงสาบ และหนู เข้าไปกัดทำลายพระไตรปิฎก หนังสือ และ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์
ตำบลนครชุม เป็น พระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูงเกือบ ๓ เมตร มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง เป็น หลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ บ้านไม้สักเก่าแก่ ถนนเทศา เขตเทศบาลเมือง เป็น มรดกตกทอดของคหบดีชาวกำแพงเพชร เป็นอาคาร ๒ ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง เสาเรือนทุกต้นใช้ไม้สัก ต้นเดียวยาวตลอด และหน้ามุขประดับด้วยไม้ฉลุมี ความสวยงามมาก
บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง (บึงสาป)
หมู่ ๓ ตำบลลาน ดอกไม้ ห่างจากตัวเมือง ๑๓ กิโลเมตร บนทางหลวง หมายเลข ๑๐๑ สายกำแพงเพชร-พรานกระต่าย แยก ซ้ายเข้าไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เป็นน้ำพุร้อนเกิด ขึ้นเองตามธรรมชาติ ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน จำนวน ๕ จุด อุณหภูมิประมาณ ๔๐-๖๕ องศาเซลเซียส จากการ ตรวจสอบของกระทรวงสาธารณสุขปรากฏว่าไม่มี สารปนเปื้อนและเชื้อโรคอันตรายเกินมาตรฐานแต่ อย่างใด ปัจจุบันบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง มีการปรับปรุง สภาพภูมิทัศน์โดยรอบอย่างสวยงาม เป็นแหล่งท่อง เที่ยวเพื่อสุขภาพ และสำหรับพักผ่อน บริการห้อง อาบน้ำแร่และนวดแผนโบราณ สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๕๗๐ ๑๓๗๙
เมืองไตรตรึงษ์
ตำบลไตรตรึงษ์ บนทางหลวง หมายเลข ๑ สายกำแพงเพชร-นครสวรรค์ ห่างจาก ตัวเมือง ๑๘ กิโลเมตร เป็นเมืองเก่าสร้างขึ้นในสมัย พระเจ้าไชยสิริกษัตริย์เชียงราย ซึ่งได้หนีข้าศึกจาก เชียงรายลงมาสร้างเมืองนี้ขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๑๕๔๒ ปัจจุบันโบราณสถานต่างๆ ทรุดโทรมลงมาก เหลือ เพียงซากเจดีย์และเชิงเป็นเท่านั้น
ตลาดกล้วยไข่
ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข ๑ สาย กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ประมาณกิโลเมตรที่ ๓๔๓ มีเพิ่งขายกล้วยไข่ทั้งดิบและสุก กล้วยฉาบ และ สินค้าพื้นเมืองอื่นๆ ตั้งอยู่เรียงรายเป็นระยะทางยาว ประมาณ ๒๐๐ เมตร