สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ อำเภอเมืองน่าน
วัดภูมินทร์
ถนนผากอง ตำบลในเวียง เป็นวัดหลวง ในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตามพงศาวดารของเมืองน่าน พระเจ้าเจตบุตร พรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ ขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ ๖ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๙ มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” พระอุโบสถเป็นอาคารทรงจตุรมุข มีนาคสะดุ้งตัวใหญ่ ๒ ตัวเป็นพระอุโบสถไว้ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ๔ องค์ หันหน้าออกสู่ประตูทั้ง ๔ ทิศ วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
ถนนสุริยพงษ์ ตรงข้าม สำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. ๑๙๔๙ เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้า ผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธ ศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลัก ที่ ๗๔ ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพ ฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
ถนนผากอง ตรงข้าม กับวัดพระธาตุช้างค้ำ ใกล้กับวัดภูมินทร์ เป็นอาคาร แบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ผสมผสานกับ สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน เดิมเป็น “หอคำ” ซึ่งเป็นที่ประทับและที่ว่าราชการของพระเจ้าสุริย พงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดแห่งแรกของ จังหวัดน่าน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๗ อาคารแห่งนี้ได้รับ การปรับปรุงอีกครั้งให้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติน่าน
วัดพระธาตุเขาน้อย
ตำบลไชยสถาน องค์พระธาตุ ตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของ ตัวเมืองน่าน อยู่ในเส้นทางเดียวกันกับวัดพญาวัด ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๒ สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๐ องค์พระ ธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ ศิลปะพม่าผสม ล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้ง ใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๕๔ โดยช่างชาวพม่า และวิหารสร้างใน สมัยนี้เช่นกัน
วัดสวนตาล
ถนนมหายศ สร้างขึ้นโดยพระนางปทุม วดี เมื่อ พ.ศ. ๑๗๗๐ เจดีย์มีสัณฐานงดงาม ชั้นล่าง มีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธ รูปที่สำคัญคือ พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระเจ้าติโลก ราชแห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๙๙๒ เป็นพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๐ ฟุต สูง ๑๔ ฟุต ๔ นิ้ว มีงานนมัสการและสรงน้ำเป็นประจำทุกปี ใน ช่วงเทศกาลสงกรานต์และมีการเฉลิมฉลองทั้งกลาง วันและกลางคืน
หอศิลป์ริมน่าน
ทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๐ (ถนน น่าน-ท่าวังผา) กิโลเมตรที่ ๒๐ ดำเนินการโดยคุณวินัย ปราบริปู ศิลปินชาวน่าน เนื้อที่กว่า ๑๓ ไร่ ประกอบ ด้วยอาคารหอศิลป์ สตูดิโอ และบ้านพักรับรอง สำหรับผู้เข้าอบรมศิลปะ ตั้งใจให้เป็นสถานที่รวบรวม งานศิลปะของศิลปินไทยร่วมสมัยที่มีผลงานการ สร้างสรรค์และรูปแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เป็นที่ ยอมรับโดยทั่วกัน ซึ่งในเริ่มแรกจัดแสดงผลงาน จิตรกรรมปฏิมากรรมของคุณวินัยเกือบ ๒๐๐ ชิ้น ในรูปแบบกึ่งนิทรรศการถาวรตลอดปี เปิดให้เข้าชม เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น. ทุกวันพฤหัส-วันอังคาร และวันนักขัตฤกษ์ ปิดวันพุธ โทร. ๐ ๕๔๗๔ ๘๐๔๖
อำเภอภูเพียง วัดพระธาตุแช่แห้ง
ตำบลม่วงตึ๊ด เป็นปูชนียสถาน ศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ น่าน บริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมืองน่านเดิม หลังจาก ที่ย้ายมาจากเมืองปัว วัดพระธาตุแช่แห้งสร้างในสมัย เจ้าพระยาการเมือง (เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ. ๑๘๖๙-๑๙๐๒) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหา ชินธาตุเจ้า ๗ พระองค์ พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้าง วัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๗
เสาดินนาน้อย
(ฮ่อมจ๊อม) และคอกเสือ ตำบล เชียงของ ห่างจากตัวเมืองน่าน ๖๐ กิโลเมตร จาก อำเภอนาน้อยมีทางแยกไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๓ ระยะทาง ๖ กิโลเมตร เป็นเสาดินมีลักษณะ แปลกตา เกิดจากการพังทลายของดิน ประกอบกับ การกัดเซาะของน้ำและลมตามธรรมชาติ พื้นที่กว้ พื้นที่กว้าง ประมาณ ๕๐ ไร่ มีลักษณะคล้าย “แพะเมืองผี” จังหวัดแพร่ นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่ามีอายุ ประมาณ ๑๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว เคยเป็น ก้นทะเลมาก่อน และจากหลักฐานการค้นพบกำไล หินและขวานโบราณที่นี่ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน แสดงให้เห็นว่าบริเวณ นี้อาจเคยเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคหินเก่า
ผาหัวสิงห์และดอยเสมอดาว
อยู่บริเวณหลักกิโลเมตร ที่ ๑๖ สายนาน้อย-ปางไฮ เป็นจุดชมทิวทัศน์บนยอด หน้าผาสูง สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ ๓๖๐ องศา มี พื้นที่เป็นลานกว้างตามสันเขา สำหรับพักผ่อนและดู ดาว ดูพระอาทิตย์ตก หากจะเดินขึ้นไปบนผาสิงห์ (เป็นหน้าผาที่มีรูปร่างคล้ายหัวสิงห์) ระยะทาง ๒ กิโลเมตร ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางจากอุทยานฯ ระหว่างทางจะพบต้นจันทน์ผาซึ่งเป็นไม้เด่น และเมื่อ ท้องฟ้าแจ่มใส จากผาสิงห์สามารถมองเห็น อำเภอ นาน้อย อำเภอเวียงสา และแม่น้ำน่านได้
อำเภอบ้านหลวง อุทยานแห่งชาตินันทบุรี
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองน่านและอำเภอ บ้านหลวง รวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำยาว น้ำสวก และป่าสงวนแห่งชาติพุเตย เป็นป่าผสม ผลัดใบ ดิบแล้ง ดิบเขา มีไม้สัก ประดู่ ตะแบก ฯลฯ และในเขตอุทยานฯ นี้ยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่า มลาบรี หรือ ผีตองเหลือง
วัดหนองบัว
หมู่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา เป็นวัด เก่าแก่ของหมู่บ้าน จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ในหมู่บ้านทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดไทลื้อแห่งนี้สร้าง ราว พ.ศ. ๒๕๐๕ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔ ภาพ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องในปัญญาชาดก ซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐานว่า เขียนโดย “ทิดบัวผัน” ช่างเขียนลาวพวนที่บิดาของ ครูบาหลวงสุ ชื่อนายเทพ ซึ่งเป็นทหารของเจ้าอนันตยศ (เจ้าเมืองน่านระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๕-๒๔๓๔)
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ ๒ ประจำปี ๒๕๕๑ ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติภาคเหนือ มีพื้นที่ทั้งหมด ๑,๐๖๕,๐๐๐ ไร่ หรือ ๑,๗๐๔ ตาราง กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ ๘ อำเภอในจังหวัดน่าน คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม ป่าไม้ในเขตอุทยาน แห่งชาติดอยภูคา ประกอบด้วยป่า ๖ ประเภท ได้แก่ ป่าดงดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนธรรมชาติ และทุ่งหญ้า เป็นแหล่งของพันธุ์ไม้ บ หายากใกล้สูญพันธุ์และพรรณไม้เฉพาะถิ่น
อำเภอเชียงกลาง วัดหนองแดง
ตำบลเปือ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐ โดยชาวไทลื้อร่วมกับไทพวน องค์พระประธานสร้าง โดยครูบาสิทธิการ พระวิหารบูรณะครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ และบูรณะต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๘ แล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ ภายในวัดมีลานกว้างร่มรื่น ช่อฟ้า พระอุโบสถสลักรูปนกหัสดีลิงค์ (เป็นนกในวรรณคดีมี จะงอยปากยาวคล้ายงวงช้าง) ซึ่งชาวไทลื้อเชื่อว่าเป็น สัตว์ชั้นสูงจากสวรรค์ เชิงชายประดับไม้ฉลุ ซึ่งเป็น ลวดลายเฉพาะของชาวไทลื้อ องค์พระประดิษฐาน บนฐานชุกชี เรียกว่า นาคบัลลังก์ จากความเชื่อที่ว่า นาคเป็นเครื่องหมายแห่งความสง่างาม ความดี และ เป็นอารักษ์แห่งพระพุทธศาสนา
ดอยผาผึ้ง
อยู่บริเวณหมู่บ้านมณีพฤกษ์ ๓ เป็นภูเขา หินปูนสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๖๐๐ เมตร ซึ่งไม่มี ต้นไม้ใหญ่มากนัก ส่วนมากจะเป็นทุ่งหญ้าคา มี ลักษณะเหมือนดอยภูแว สามารถชมบรรยากาศ พระอาทิตย์ขึ้นและตกได้อย่างสวยงาม ชมทัศนียภาพ ของอำเภอบ่อเกลือ อีกทั้งยังสามารถเห็นสันดอยภูแว และคอยช่อได้ จากปากทางต้องเดินเท้า ๒๐ นาที เลาะไปตามไหล่เขาเป็นธรรมชาติที่งดงาม
เดินป่าบ้านน้ำพางสู่บ้านร่มเกล้า-เดินป่าเลียบลำน้ำ แปง-ล่องแก่งลำน้ำว้า
เริ่มที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่ง ชาติแม่จริม (บ้านใหม่) บริเวณบ้านน้ำพาง ไปตาม ทางหลวงหมายเลข ๑๒๕๙ สู่บ้านร่มเกล้า ระยะทาง ๓.๘ กิโลเมตร ใช้เวลา ๕ ชั่วโมง จากนั้นเดินเลียบลำน้ำแปงไปลำน้ำว้า บริเวณแก่งหลวง ใช้เวลา ๔ ชั่วโมง จากนั้นล่องแพจากแก่งหลวงไปบ้านหาดไร่ใช้เวลา ๒ ชั่วโมง ใช้เวลาทั้งหมด ๑๑ ชั่วโมง เป็นกิจกรรมที่ต้อง ใช้เวลา ๒ วัน ๑ คืน