สถานที่ที่น่าสนใจ จังหวัดพิษณุโลก
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เป็นศาลาทรงไทย โบราณตรีมุข พระรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขนาดเท่าองค์จริงในท่าประทับ พระหัตถ์ทรงพระ สุวรรณภิงคารหลั่งน้ำในพระอิริยาบถประกาศ อิสรภาพที่เมืองแครง สร้างโดยกรมศิลปากร ศาล สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตั้งอยู่ในโรงเรียน พิษณุโลกพิทยาคม ติดกับเสาหลักเมือง ถัดเข้าไป ตามถนนเลียบแม่น้ำ แต่เดิมบริเวณโรงเรียนเคย เป็นพระราชวังจันทน์มาก่อน เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๕ กรมศิลปากรได้ขุดค้นพบแนวเขตพระ ราชฐานพระราชวังจันทน์ ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นับว่าเป็นการขุด ค้นทางโบราณคดีและทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ของจังหวัด
พระราชวังจันทน์
ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองพิษณุโลก ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ตรงข้ามกับวัดพระศรีรัตน มหาธาตุวรมหาวิหาร สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ประทับ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระมหากษัตริย์ หลายพระองค์ กรมศิลปากรทำการขุดแต่งและจัด สภาพภูมิทัศน์ มีอาคารข้อมูล ห้องนิทรรศการ เพื่อ ให้ความรู้เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีการ ขุดพบโบราณวัตถุชิ้นสำคัญและถือเป็นชิ้นพิเศษมาก คือ เครื่องถ้วยจีน ซึ่งที่ก้นภาชนะมีอักษรจีน ๖ ตัว อ่านว่า “ต้าหมิง ชวนเต๋อ เหนียนชื่อ” สันนิษฐาน ว่าเป็นเครื่องถ้วยบรรณาการสมัยราชวงศ์หมิง สมัย จักรพรรดิซวนเต๋อ ราว พ.ศ. ๑๙๖๙-๑๙๗๙ ซึ่งถือว่า เป็นถ้วยบรรณาการที่มีลักษณะพิเศษ คือที่ก้นถ้วย มักจะมีชื่อกษัตริย์ประทับอยู่ นอกจากนี้ยังค้นพบ โบราณวัตถุอื่น ๆ เช่น ชิ้นส่วนเตาเชิงกราน ท่อน้ำ ๆ ดินเผา ตะเกียงดินเผา กระเบื้องมุงหลังคาทั้งแบบ แบนและแบบกาบกล้วย เครื่องถ้วยจากแหล่งเตา เมืองศรีสัชนาลัย ภาชนะสัมฤทธิ์ นอกจากนี้ยังพบ โบราณสถานสำคัญ เช่น สระสองห้อง วัดวิหารทอง วัดศรีสุคต วัดจุฬามณี
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือวัดใหญ่ หรือวัดพระศรี
พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐาน ในวิหารคือ “พระพุทธชินราช” ชาวเมืองพิษณุโลกก็ นิยมเรียกกันว่า “หลวงพ่อใหญ่” ตามไปด้วย วัดพระ ศรีรัตนมหาธาตุนับเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญของ จังหวัด เพราะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวเมือง และชาวไทยทั้งประเทศ ตั้งอยู่ที่ถนนพุทธบูชา ตำบล ในเมือง ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก สร้างขึ้นพร้อมกับ การสร้างเมืองเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ ภายในวัดมีโบราณสถานโบราณวัตถุล้ำค่ามากมาย
วิหารพระเจ้าเข้านิพพาน หรือวิหารแกลบ หรือวิหาร หลวงสามพี่น้อง
ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของพระวิหารพระ ศรีศาสดาราม ภายในวิหารมีพระพุทธรูปนั่งขนาด ใหญ่ บริเวณกลางพระวิหารมี “หีบปางพระเจ้าเข้า นิพพาน” เป็นหีบบรรจุพระบรมศพ ทำด้วยศิลา ประดับด้วยลวดลายลงรักปิดกระจกสวยงาม โดย ข้อพระบาทเลยออกมาเล็กน้อย ตั้งบนแท่นอันสลัก ลวดลายงดงาม รอบแท่นมีปัญจวัคคีย์ กำลังแสดง ความทุกข์อาลัยพระองค์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นโบราณวัตถุ ชิ้นสำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
วัดนางพญา
ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับวัดราชบูรณะ ถัดไปทางทิศตะวันออก มีลักษณะสถาปัตยกรรม สมัยเดียวกับวัดราชบูรณะ ต่างกันที่วัดนางพญา ไม่มีพระอุโบสถ มีแต่วิหาร วัดนี้มีชื่อเสียงในด้าน พระเครื่อง เรียกว่า “พระนางพญา” ซึ่งเล่าลือกัน ถึงความศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันหาได้ยากมาก มีก็แต่ที่ได้ สร้างจำลองขึ้นภายหลัง มีการพบกรุพระเครื่องครั้ง แรกใน พ.ศ. ๒๔๔๔ และครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗
วัดจุฬามณี
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ห่าง จากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางใต้ตามถนนบรมไตรโลก นารถ ระยะทาง ๕ กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีมา ก่อนสมัยสุโขทัย เคยเป็นที่ตั้งของเมืองสองแควเก่า ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า สมเด็จพระบรมไตรโลก- นาถ ทรงสร้างพระวิหารและเสด็จออกผนวชที่วัดนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๗ เป็นเวลา ๕ เดือน ๑๕ วัน โดยมี ข้าราชบริพารออกบวชตามเสด็จถึง ๒,๓๔๘ รูป มี โบราณสถานสำคัญคือ ปรางค์แบบขอมขนาดย่อม ฐานกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๘ เมตร ก่อด้วยศิลา
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี (จ่าสิบเอกทวี-พิมพ์ บูรณ เขตต์)
เป็นที่เก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน ซึ่งเป็นเครื่องมือทำมาหากินของชาวบ้านในอดีต ตั้งแต่ชิ้นเล็ก ๆ จนถึงชิ้นใหญ่ เช่น เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ใน การประกอบอาชีพ เครื่องวิดน้ำด้วยมือ เครื่องสีข้าว เครื่องมือดักจับสัตว์ รวมกันแล้วนับหมื่นชิ้น จนได้ รับการยอมรับว่าเป็นขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาไทย และได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประเภทหน่วยงานส่ง เสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
อำเภอวังทอง วัดราชคีรีหิรัญยาราม (วัดเขาสมอแคลง)
ตั้งอยู่บน เขาสมอแคลง บ้านสมอแคลง เดิมเป็นวัดร้าง มีพระ สงฆ์มาจําพรรษาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ บนเขาสมอแคลงมี สระน้ำ เรียกว่าสระสองพี่น้อง มีน้ำตลอดปี ในบริเวณ วัดมีรอยพระพุทธบาทจำลอง และบนเขาด้านตะวัน ตกของวัดมีรอยพระบาทตะแคงอยู่กับหน้าผา ซึ่งมี งานนมัสการพระพุทธบาทในช่วงกลางเดือน ๓ เป็น ประจำทุกปี
น้ำตกวังนกแอ่น (สวนรุกขชาติสกุโณทยาน)
เป็นน้ำตกขนาดกลางสูงประมาณ ๑๐ เมตร มีต้นกำเนิดมา จากลำน้ำเข็ก บริเวณทั่วไปร่มรื่นด้วยพรรณไม้ต่าง ๆ มีป้ายชื่อและลักษณะของต้นไม้กำกับไว้ ด้านทิศ ตะวันตกมีพลับพลา สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ คราวเสด็จ ประพาสภาคเหนือ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๐๑ ด้านทิศตะวันออกมีศาลาริมน้ำ เป็นที่ประทับทอด พระเนตรทิวทัศน์สองฝั่งลำน้ำวังทอง ก่อนถึงตัว น้ำตก ๑๗๐ เมตร มีป้ายบอกทางเลี้ยวขวาไปยังแก่ง ไทร ซึ่งเป็นแก่งหินคั่นกลางลำน้ำเป็นขั้น ๆ เหมาะแก่ การพักผ่อนหย่อนใจ
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
มีพื้นที่ ๗๘๙,๐๐๐ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและเพชรบูรณ์ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๘ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาน้อยใหญ่สลับ ซับซ้อน เป็นต้นน้ำลำธารหลายสายที่ไหลลงสู่ แม่น้ำน่าน นักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวตาม เส้นเดินทางศึกษาธรรมชาติ ใช้บริการที่พักและกาง เต็นท์เพื่อพักแรม
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล
ครอบคลุมเนื้อที่ ๑,๗๗๕ ไร่ ลักษณะเป็นเขาหินปูนอยู่ในยุคพาลีโอ ซีน (Palaeocene) และอยู่ในยุคย่อยคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferus) มีอายุราว ๓๖๐-๒๘๖ ล้านปีมาแล้ว เป็นภูเขาหินปูนลูกโต หน้าผาสูงชัน มีลักษณะคล้าย รูปเกือกม้า หินปูนบริเวณนี้ส่วนมากเกิดจากการ ทับถมของเปลือกหอย พลับพลึงทะเล หรือปะการัง มีการตกตะกอนทางเคมีอยู่น้อยมาก จากการศึกษา และจำแนกซากดึกดำบรรพ์ทำให้ทราบว่า บริเวณนี้ เคยเป็นทะเลมาก่อน
อำเภอชาติตระการ อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
มีชื่อเรียกตาม ชาวบ้านว่าน้ำตกปากรอง ตั้งอยู่ที่บ้านปากรอง ตำบล ชาติตระการ อำเภอชาติตระการ ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ ๑๔๕ กิโลเมตร น้ำตกชาติตระการเป็น น้ำตกที่สวยงามมากของจังหวัดพิษณุโลก มี ๗ ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยต่างกันออกไป และตั้งชื่อตาม นามธิดาท้าวสามลในวรรณคดีไทยเรื่องสังข์ทอง โดย เฉพาะชั้นที่ ๓ และ ๔ น้ำตกจากหน้าผาสูงประมาณ ๑๐ เมตร แผ่กระจายเป็นม่านน้ำเต็มหน้าผา ชั้นที่ เป็นแอ่งใหญ่ที่สุดคือชั้นที่ ๑ ระยะทางเดินจาก ด ชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๒ ประมาณ ๑,๒๒๐ เมตร
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอ ชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา สูงตามแนวชายแดนไทย-ลาว บริเวณที่สูงที่สุด คือ “ยอดภูสอยดาว” สูงถึง ๒,๑๐๒ เมตร
อำเภอนครไทย อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ตั้งอยู่บนรอยต่อ ของสามจังหวัด คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ครอบคลุมพื้นที่ ๑๙๑,๘๗๕ ไร่ ประกาศเป็นอุทยาน แห่งชาติเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๒๗ ภูหินร่องกล้า มียอดเขาสูง ๑,๖๑๗ เมตร จากระดับทะเลปานกลาง มีทิวทัศน์สวยงาม ปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปน กัน และพบกล้วยไม้ดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตาม ลานหิน ได้รับรางวัลดีเด่น รางวัลอุตสาหกรรมท่อง เที่ยวไทย ครั้งที่ ๒ ประจำปี ๒๕๕๑ ประเภทแหล่ง ๗ ท่องเที่ยวทางธรรมชาติภาคเหนือ
ผาชูธง
เป็นจุดที่คอมมิวนิสต์ชักธงแดงทุกครั้งที่รบชนะ ลานหินปุ่ม เต็มไปด้วยหินปุ่มเป็นบริเวณกว้างดู แปลกตา เกิดจากการสึกกร่อนของหินโดยธรรมชาติ เคยใช้เป็นที่พักฟื้นคนไข้
โรงเรียนการเมือง การทหาร
อยู่ห่างจากที่ทำการ อุทยานฯ ๖ กิโลเมตร เคยใช้เป็นสถานที่ให้การศึกษา ตามแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ มีบ้านพักฝ่าย พลเรือน ฝ่ายพลาธิการ และสถานพยาบาล กระจาย ตัวอยู่ใต้ผืนป่ารกทึบ ประมาณ ๓๐ หลัง ในบริเวณ ใกล้เคียงยังมีสุสานทหารและกังหันพลังงานน้ำใช้ สีข้าว
ลานหินแตก
ลานหินกว้างมีรอยแตกคล้ายแผ่นดิน แยก ตามซอกหินพบไม้ประเภทมอส ไลเคน เฟิน กล้วยไม้ และดงดอกกุหลาบพันปีสีขาวตลอดทาง
น้ำตกหมันแดง
เป็นน้ำตกที่มีชั้นต่าง ๆ รวม ๓๒ ชั้น ไม่สามารถลงเล่นน้ำได้ เกิดจากห้วยน้ำหมัน ซึ่งมีน้ำ ตลอดปี อยู่บนเส้นทางสายภูหินร่องกล้า หล่มเก่า กิโลเมตรที่ ๑๘ มีทางเดินเท้าเข้าสู่น้ำตกอีก ๓.๕ กิโลเมตร เส้นทางเดินเป็นป่าดิบเขา นักท่องเที่ยว ต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางจากอุทยานฯ ใช้เวลา ในการเดินประมาณ ๖ ชั่วโมง จึงต้องเริ่มออกเดินทาง ก่อนเวลา ๑๐.๐๐ น.